การเปรียบเทียบ 5 แพลตฟอร์มระบบ MOOC สำหรับนักการศึกษา

ในบทความนี้จะกล่าวถึงการเปรียบเทียบ 5 แพลตฟอร์มระบบ MOOC ที่ถูกกล่าวถึงในปัจจุบันอย่างแพร่หลาย เหมาะสำหรับนักการศึกษาหรือมหาวิทยาลัยที่ต้องการสร้าง MOOC ของตนเอง

John Swope เป็นผู้ก่อตั้ง curricu.me เป็นผู้รวบรวม MOOC ออนไลน์ที่ช่วยให้อาจารย์ สามารถแบ่งปันหลักสูตรที่กำหนดขึ้นกับนักเรียนและนักศึกษา รวมถึงพนักงานและเพื่อนของพวกเขาได้นำไปใช้ในการเรียนการสอน โดย MOOC ที่เขาโปรดปราน คือ “คู่มือสำหรับผู้เริ่มต้นใช้พฤติกรรมไม่เหมาะสม” ของ Dan Ariely และบล็อกส่วนตัวของเขาได้รับแรงบันดาลใจจากทฤษฎี Ariely เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ที่ไม่ลงตัว โดยผู้ที่สนใจสามารถติดตามผลงานของเขาได้ทาง Twitter และ Google+

what is america essay
ในช่วงปลายปี 2013 มหาวิทยาลัยชั้นนำส่วนใหญ่ได้เริ่มเสนอหลักสูตร MOOC (หลักสูตรออนไลน์แบบเปิดกว้าง) ขณะนี้เราทุกคน คงเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลง และมีนักวิชาการการศึกษาพูดถึง MOOC มากขึ้น ทั้งภาคองค์กร ธุรกิจเอกชน เช่น Google และ Tenaris ก็กำลังใช้ MOOC เพื่อฝึกอบรมพนักงานของพวกเขา MongoDB ให้ความรู้แก่นักพัฒนาซอฟต์แวร์ผ่านทางสื่อ MOOC และผู้สอนหรืออาจารย์ นับพันเริ่มเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น Udemy เป็นต้น

หากว่าหน่วยงานหรือมหาวิทยาลัยของคุณกำลังพิจารณา MOOC สำหรับตัวคุณเองหรือหน่วยงานหรือมหาวิทยาลัยของคุณ ก่อนอื่นคุณต้องกำหนดเครื่องมือที่จะใช้ในการสร้างหลักสูตร รายวิชา รูปแบบการประเมินและวัดผล เป็นต้น และที่สำคัญสำหรับการเรียนการสอนในศัตวรรษที่ 21 จะต้องรองรับการทำงานบนระบบ Smart Phone หรือ Tablet เป็นสำคัญ ซึ่งในบทความนี้การกล่าวถึง 5 แพลตฟอร์ม MOOC ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ให้ท่านพิจารณา โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

EDX
EdX เป็นแพลตฟอร์มประเภทโอเพนซอร์สที่พัฒนาโดย edX.org เป็นแพลตฟอร์มเดียวกับที่มหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น Harvard และ MIT ใช้เพื่อเสนอหลักสูตรและรายวิชาต่างๆ ให้กับนักศึกษามากกว่า 100,000 คน ได้รับการเผยแพร่เป็นโอเพนซอร์สในเดือนมีนาคม 2013 และมีเป้าหมายเพื่อทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์ม WordPress สำหรับ MOOC ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ปลั๊กอินต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนได้มากขึ้น อีกทั้ง edX มีความรวดเร็ว ทันสมัย มากด้วยความสามารถด้านต่างๆ และรองรับการลงทะเบียนเรียนของผู้เรียนจำนวนมากๆ ได้
find out here now
Moodle
Moodle เป็นระบบการจัดการการเรียนรู้ประเภทโอเพนซอร์ส หรือรู้จักกันในนาม LMS (Learning Management System) ที่ช่วยให้อาจารย์สร้างบทเรียน จัดทำหลักสูตรออนไลน์ได้ ระบบถูกพัฒนาขึ้นสำหรับการจัดการห้องเรียนออนไลน์แบบดั้งเดิมมากกว่าที่จะใช้กับระบบ MOOCs ซึ่งระบบดังกล่าวสามารถดึงดูดผู้เรียนได้ดี (ขึ้นอยู่กับรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน อ่ะนะ) ติดตั้งได้ง่ายกว่า edX และมีตัวเลือกการติดตั้งมากมาย (แค่คลิกก็พร้อมใช้งาน)
Moodle เหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการพัฒนาในรูปแบบ LMS เป็นหลัก สามารถปรับแต่งระบบได้ตามต้องการของหน่วยงานหรือองค์กระ นอกเหนือจากนั้นในด้านเครื่องมือ สถิติทางการศึกษา การวิเคราะห์ ตามมาตรฐาน SCORM อีกทั้ง Moodle เอง ก็มีการพัฒนาปรับปรุงมาแล้วหลายเวอร์ชั่น และมีประสบการณ์ มากกว่า 10 ปี

COURSESITES BY BLACKBOARD
CourseSites โดย Blackboard เป็นแพลตฟอร์มที่มีความโดดเด่นเป็นพิเศษ มีคุณลักษณะใกล้เคียงกับ Moodle มีเครื่องมือการสอนที่ครอบคลุมการเรียนการสอน มีรายงานผลผู้เรียน ประเมินผลวัดผล ตามมาตรฐาน SCORM ทำงานบนระบบคลาวด์ นอกเหนือจากนั้นยังสามารถกำหนดรายวิชาหรือหลักสูตรเสร็จภายในไม่กี่นาที และไม่ต้องกังวลกับการบำรุงรักษาหรือการอัปเกรดระบบ
CourseSites เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับแต่ละบุคคล เช่น อาจารย์ที่ต้องการจะโยกย้ายหรือปรับเปลี่ยนส่วนหนึ่งส่วนใดของหลักสูตรหรือรายวิชาเป็นรูปแบบออนไลน์ หรือองค์กรที่ต้องการเริ่มทดลองใช้หลักสูตรออนไลน์ ก็สามารถกระทำได้โดยไม่ต้องติดตั้งอะไรเพิ่มเติม (รองรับจำนวนหลักสูตรสูงสุด 5 หลักสูตร) เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ไม่ปิดกั้นในด้านสถานที่และเวลา ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาระบบค่อนข้างต่ำ จึงถือได้ว่า CourseSites เป็นตัวเลือกที่ดีอีกตัวหนึ่ง

UDEMY (เวอร์ชั่นฟรี)
ตั้งแต่เริ่มแรก Udemy มีความเชี่ยวชาญในเรื่อง MOOC คิดว่าเป็น YouTube ของ MOOCs อาจารย์ผู้สอนสามารถสร้างและโฮสต์หลักสูตรของตัวเองบนแพลตฟอร์ม แล้วนำเสนอให้กับผู้ใช้ได้ฟรีหรือไม่เสียค่าใช้จ่าย

Udemy เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างหลักสูตรพื้นฐานแบบง่ายๆ โดยเป็นการรวมพลังของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ นักถ่ายภาพ นักออกแบบ และผู้เชี่ยวชาญในแขนงวิชาด้านต่างๆ ถ่ายทอดความรู้ในรูปแบบออนไลน์ ความสุดยอดของ Udemy คือ รองรับการลงทะเบียนเรียน จำนวนมากกว่า 2,000,000 คน เมื่อเราสร้างหลักสูตรบน Udemy อาจารย์หรือผู้สอนจะสามารถเข้าถึงกลุ่มนักศึกษาที่มีศักยภาพกลุ่มนี้ได้

VERSAL (เวอร์ชั่นฟรี)
Versal เป็นแพลตฟอร์มใหม่ที่น่าสนใจ จุดเด่นที่สำคัญ คือ ส่วนติดต่อผู้ใช้ที่เรียบง่าย ใช้งานได้ง่าย และมีฟังก์ชันการลากวางที่มีประสิทธิภาพ ผู้ใช้สามารถลงชื่อสมัครใช้ฟรี เมื่อสมัครใช้งานแล้วสามารถสร้างหลักสูตรได้ทันที อีกทั้งในตัวระบบยังรวมเอาสถิติทางคณิตศาสตร์ ภาพเชิงลึก และอื่นๆ อีกมากมาย โดยไม่ต้องเรียนรู้คำสั่งคอมพิวเตอร์เลยแม้แต่น้อย อีกทั้งผู้ใช้ยังสามารถฝังหลักสูตรที่เผยแพร่ไว้ในเว็บไซต์อื่น ๆ เช่น บล็อกส่วนตัว เฟสบุ๊ค เป็นต้น

Versal ไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็นแพลตฟอร์ม MOOC เนื่องจากไม่มีองค์ประกอบของระบบ MOOC บางอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะนี้ยังไม่มีการนำเสนอหรือการอภิปรายกันในวงวิชาการ แต่ก็สามารถคิดได้ว่าเป็นแพลตฟอร์มการสอนที่ดีอีกรูปแบบหนึ่ง

 

ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มใดจาก 5 แพลตฟอร์มข้างต้น หรืออื่นใด ที่ใช้สำหรับการตัดสินใจเลือกใช้ ล้วนขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ว่าคุณจะสร้างบทเรียนหรือหลักสูตรของคุณทำไม? เพื่อใคร? ได้ประโยชน์อะไร? สามารถช่วยพัฒนาการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาในศัตวรรษที่ 21 ได้จริงหรือไม่? เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยใช่หรือไม่? เป็นบัณฑิตที่ผู้ใช้งานบัณฑิต หรือสังคมยอมรับ (ทำงานได้จริงหรือไม่) หรือไม่? ควรเป็นคำถามที่สำคัญกว่าการพิจารณาเลือกใช้ระบบใด เป็นที่แน่นอนว่าอาจารย์ผู้สอนเองก็ต้องพิจารณาปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนใหม่ ไม่ใช่บรรยายหน้าชั้นเรียนเหมือนในอดีตที่ผ่านมา สามารถใช้บทเรียนที่อาจารย์สร้าง ในการกระตุ้นผู้เรียนในรูปแบบต่าง มีการสาธิตการปฏิบัติ (อาจจำเป็นต้องมีวิดีโอสาธิต) ช่วยให้ผู้เรียนรอบรู้ รู้ลึกและจริงในศาสตร์ และที่สำคัญจะต้องมีระบบติดตาม ประเมินผลและวัดผลผู้เรียนได้

เรียบเรียงโดย ผศ.ปริญญา น้อยดอนไพร

ที่มา: httpss://edtechmagazine.com/higher/article/2014/02/comparison-five-free-mooc-platforms-educators