การใช้งานโปรแกรมอัพโหลดไฟล์ FileZilla

FileZilla คือ โปรแกรมที่ใช้ในการถ่ายโอนไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา (Client) กับเว็บเซิฟเวอร์ (Server) เป็นโปรแกรมที่สำคัญมากๆ ในการทำเว็บ เรียกกระบวนการนี้ว่า FTP (File Transfer Protocol) ถ้าพูดถึงโปรแกรม FTP ก็จะหมายถึงโปรแกรมจำพวกนี้ ซึ่งมีหลายโปรแกรม แต่ในที่นี้จะแนะนำการใช้งาน FileZilla เนื่องจากเป็นที่นิยมของผู้ใช้งานและโฮสต์ (Host) ส่วนใหญ่ก็แนะนำให้ใช้โปรแกรมนี้

คลิกที่นี่เพื่อ Download FileZilla

รายละเอียดที่จำเป็นที่จะต้องทราบข้อมูลสำหรับการเชื่อมต่อ ประกอบไปด้วยรายละเอียด ดังต่อไปนี้

Host : ชื่อโฮสต์ หรือโดเมนเนม หรือ IP Address ของเซิร์ฟเวอร์
Username : ชื่อผู้ใช้งาน
Password : รหัสผ่าน
Port : พอร์ทที่ใช้ในการเชื่อมต่อ (ส่วนมากนิยมใช้พอร์ตหมายเลข 21)

ตัวอย่างข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้สำหรับการเชื่อมต่อ

การเชื่อมต่อ
ทำการกรอกรายละเอียดโฮสต์แล้วคลิกที่ปุ่ม Quickconnect

หลังจากนั้นจะเห็นรายละเอียดสถานะการเชื่อมต่อที่ช่องหมายเลข 1 และด้านล่างจะเป็นไฟล์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา (Client) หมายเลข 2 และฝั่งโฮสต์ หมายเลข 3

การบันทึกการเชื่อมต่อ
สามารถทำการบันทึกการเชื่อมต่อของโฮสต์ต่างๆ เพื่อให้ครั้งต่อไปไม่จำเป็นต้องกรอกรหัสผ่านใหม่ทุกครั้ง โดยการคลิกที่เมนู File > Copy current connection to Site Manager

ทำการตั้งชื่อสสำหรับการเชื่อมต่อนี้แล้วคลิกที่ปุ่ม OK

ในการใช้งานครั้งต่อไปก็เพียงแค่คลิกที่ปุ่มรูปเซิฟเวอร์เพื่อเลือกชุดข้อมูลที่ได้บันทึกไว้แล้ว โปรแกรมก็จะทำการเชื่อมต่อให้อัตโนมัติทันที

การอัพโหลดและดาวน์โหลดไฟล์
หลังจากการเชื่อมต่อแล้วจะสามารถทำการอัพโหลดไฟล์ได้ด้วยการเลือกไฟล์ที่ต้องการอัพโหลดจากช่องไฟล์ทางด้านซ้ายมือ ไปยังโฟลเดอร์ต่างๆ ของฝั่งโฮสต์ที่ฝั่งขวามือ ซึ่งปกติไฟล์เว็บไซต์นั้นจะต้องอยู่ในโฟลเดอร์ public_html หรือ www ซึ่งบางโฮสต์อาจจะกำหนดมาแตกต่างกัน กรุณาสอบถามผู้ให้บริการของท่าน ในทางตรงกันข้ามก็สามารถทำการดาวน์โหลดไฟล์ต่างๆ จากฝั่งโฮสต์มาไว้ที่เครื่องได้ด้วยวิธีการเดียวกัน คือ ลากจากฝั่งซ้ายมาขวานั่นเอง

การกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงไฟล์ ด้วย File Permission (CHMOD)
ใน การทำเว็บไซต์ด้วย CMS บางตัวเช่น WordPress นั้น ในบางครั้งก็จำเป็นต้องกำหนดการเข้าถึงไฟล์ต่างๆ ของระบบ เช่น การติดตั้งปลั๊กอิน (Plug-in) บางตัว จำเป็นต้องกำหนดสิทธิ์ (Permission) สำหรับบางไฟล์หรือโฟลเดอร์ สามารถกำหนดได้ด้วยการคลิกขวาไปที่ไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่ต้องการ แล้วเลือกคำสั่ง File permissions…

โดยค่า Permission ต่างๆ นั้นจะทำได้ด้วยการกำหนดเป็นตัวเลข หรือคลิกที่ช่องต่างๆ โดยหากกำหนดเป็น 777 ก็คือการกำหนดสิทธิ์ให้ผู้ใช้งานในทุกระดับเข้าถึงไฟล์นั้นได้อย่างเสรี เป็นต้น

ที่มา: httpss://www.wpthaiuser.com/filezilla/